อีกไม่นาน โลกจะถูกขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค A.I. ที่แรงงานจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและหุ่นยนต์มากขึ้น ไม่่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็จะมีการนำ A.I. มาใช้มากขึ้น โดยจะมีการทำงานด้วยกันระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์ ในงานที่มีรูปแบบซ้ำๆกันในโรงงาน เป็นที่แน่นอนว่าทางโรงงานย่อมต้องการลดต้นทุน จากต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตใช้งานนั้นลดต่ำลง โดยการนำเครื่องจักรและหุ่นยนต์มาใช้งาน แขนกลหุ่นยนต์เป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม 4.0 โดยแขนกลหุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่หยิบยกรวมถึงประกอบชิ้นส่วนวัตถุได้ ในประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้ระบบออโต้เมชั่นมากขึ้นในหลายๆวงการ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาคธนาคาร
ด้วยการตอบสนองของการสื่อสารที่ฉับไวขึ้นของระบบ 5G ที่กำลังใกล้เข้ามาในอนาคต ทำให้เราสามารถสั่งงานเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วฉับไว โดยเครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว โดยประเทศไทยมีการนำเข้าหุ่นยนต์และเครื่องจักรเข้ามาช่วยทำงานโดยเฉลี่ยปีละ 200,000 ล้านบาท และในเอเชียมีการสั่งซื้อหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติถึง 40% ของโลก มีการคาดหมายว่าในปี 2562-2564 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในไทยจะขยายตัวถึง 21% ด้านสถาบันวิทยากรหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) คาดการณ์ว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมของไทย จะมีมูลค่าถึง 4-500,000 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของวงการเครื่องจักรและระบบออโตเมชั่นอย่างมีนัยสำคัญ
จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้แบ่งระดับของการพัฒนาอุตสาหกรรมออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าประมาณ 70% ของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยอยู่ในระดับ 2.0 หรือ 2.5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้นในกระบวนการผลิต และใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในไทย ในระดับที่ 3 มีการใช้ CNC (Computer Numerical Control) มาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น ซึ่งบางบริษัทก็เริ่มก้าวมาถึงระดับที่ 3 บ้างแล้วซึ่งมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตอีกด้วย ในอนาคตอันใกล้ การผลิตจะเข้าสู่ยุคที่ใช้ Computer ควบคุมการทำงานแทนคน มีการใช้ Barcode หรือ RFID ในการควบคุมสายพานการผลิตผ่านระบบ Network
ทางบีโอไอ หรือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้จัดมาตรการพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้นำเครื่องจักรและหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการผลิตมากขึ้น ด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 3 ปี และกลุ่มกิจการที่เป็นผู้ออกแบบและผู้พัฒนาระบบผลิตอัตโนมัติจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี
สำหรับหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมนั้น ได้รับสิทธิ์ยกเว้นอากรนำเข้าตามประเภทพิกัดอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร 2530 มาตรา 12
สิ่งที่ควรคำนึงในการนำเข้าเครื่องจักร หุ่นยนต์ แขนกล หรือระบบอัตโนมัติ
- จดทะเบียนผู้นำเข้ากับทางกรมศุลกากร: ก่อนอื่นใด ผู้นำเข้าใหม่ต้องจดทะเบียนผู้นำเข้ากับทางกรมศุลกากรก่อน ถึงจะทำการนำเข้าได้ และถ้าหากต้องการแต่งตั้งตัวแทนออกของก็สามารถลงทะเบียนมอบหมายแต่งตั้งให้บุคคลใดหรือบริษัทชิปปิ้งเป็นตัวแทนออกของให้กับทางบริษัท แต่ถ้าบริษัทนำเข้าเป็นประจำอยู่แล้ว และจดทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้วก็ไปที่ขั้นตอนถัดไป
- การเลือกและสั่งสินค้าประเภทเครื่องจักรที่ต้องการนำเข้าให้ถูกต้อง: เบื้องต้นทางบริษัทต้องติดต่อประสานงานกับทางผู้ขายในการสั่งสินค้า โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การใช้งาน สเป็คสินค้า ตรวจสอบแคตาล็อกให้เรียบร้อยว่าสินค้าที่ต้องการสั่งมีคุณลักษณะตรงตามการใช้งานหรือไม่
- การเลือกพิกัดสินค้าให้ถูกต้อง: หลังจากเลือกสินค้าเรียบร้อยแล้ว ในการนำเข้า ทางบริษัทต้องตรวจสอบพิกัดนำเข้าเครื่องจักรว่าตรงกับพิกัดใด มีค่าอากรเท่าไร ตรงนี้ชิปปิ้งมืออาชีพสามารถให้คำตอบกับคุณได้
- การตรวจสอบสิทธิ์ขอยกเว้นภาษีอากร หรือสิทธิ์ขอคืนอากรย้อนหลัง: สินค้าบางประเภท: เมื่อได้พิกัดเรียบร้อยแล้ว หากดูแล้วว่าต้องมีการเสียค่าอากร ทางบริษัทควรทำการตรวจสอบสิทธิ์ขอยกเว้นอากรว่าพิกัดนี้ได้รับสิทธิ์ยกเว้นใดๆหรือไม่ หรือมีสิทธิ์ขออากรย้อนหลัง
- การตรวจสอบเอกสารนำเข้าให้เรียบร้อยถูกต้อง: การตรวจสอบเอกสารนำเข้าทั้ง Bill of Lading, Air Way Bill, Invoice หรือ Packing List รวมถึงฟอร์มสิทธิประโยชน์ต่างๆต้องมีถูกต้อง เอกสารแต่ละตัวต้องมีความสอดคล้องกัน ถึงจะทำให้การปล่อยสินค้าออกจากท่าราบรื่นไม่ติดขัด
- การหาตัวแทนที่ไว้ใจได้ในการเคลียร์สินค้าออกจากท่า: การเคลียร์สินค้าออกจากท่าเรือจำเป็นต้องใช้มืออาชีพที่รู้วิธีขั้นตอนการดำเนินงานและการเจรจากับเจ้าหน้าที่ การที่มีตัวแทนที่ไว้ใจได้ในการนำสินค้าออกจากท่าจึงช่วยให้การปล่อยของทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
- การขนส่งสินค้าจากท่ามาถึงโรงงานอย่างปลอดภัย: เพื่อมิให้สินค้าเครื่องจักร หุ่นยนต์ มีการชำรุดหรือเสียหาย การขนส่งโดยบริษัทขนส่งที่ไว้ใจได้ มีคนขับมืออาชีพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หากสนใจบริการผ่านพิธีการศุลกากรในการนำเข้าเครื่องจักร หุ่นยนต์ ติดต่อได้ที่
A&B Associated Co., Ltd.
Tel. 02-671-4389
Fax. 02-671-4387
E-mail: contact@abassociated.com
Facebook: www.facebook.com/Shipping.AB
Line@: @abassociated