ก่อนที่จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) และถ้าหากไม่ต้องการผ่านพิธีการเอง ท่านสามารถมอบอำนาจให้ตัวแทน (Custom Broker) ดำเนินการแทนได้ หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องมาดำเนินการผ่านพิธีการนำเข้าในระบบ Paperless ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การบันทึกข้อมูล: ในขั้นแรกผู้นำเข้า หรือตัวแทน ต้องทำการบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ ทาง Counter Service โดยตัวโปรแกรมจะทำการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของใบขนขาเข้า แล้วส่งข้อมูลให้กับทางกรมศุลกากร
- การตรวจสอบข้อมูล: เมื่อกรมศุลกากรได้รับข้อมูลแล้วจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาเป็นต้น หากข้อมูลที่บันทึกไปมีข้อผิดพลาด ทางกรมศุลกากรจะแจ้งข้อมูลกลับมาว่าผิดตรงจุดใด เพื่อให้ทางผู้นำเข้าหรือตัวแทนทำการแก้ไขแล้วส่งข้อมูลไปใหม่ เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ทางกรมศุลกากรจะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้าให้
- การตรวจสอบเงื่อนไข: ขั้นตอนนี้ ทางกรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขอย่างละเอียด โดยการตรวจสอบพิธีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) ถ้าเป็นใบขนประเภท Green Line นั้น สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร วางประกัน และตรวจปล่อยสินค้าได้เลย
- ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) ถ้าเป็นใบขนประเภท Red Line นี้ ต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้านั้น
- การตรวจปล่อยสินค้า: เมื่อชำระภาษีอากรทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าอีกครั้ง ก่อนทำการปล่อยสินค้าออกมา
- การจัดเก็บข้อมูล: ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องทำการจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานได้เมื่อกรมศุลกากรร้องขอ
A&B Associated Co., Ltd.
Tel. 02-671-4389
Fax. 02-671-4387
E-mail: contact@abassociated.com
Facebook: www.facebook.com/Shipping.AB
Line@: @abassociated